ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12 และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : พิชญา สีลาพล ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะ ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะใน 4 โรคสำคัญคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) โรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และเป็นภัยเงียบคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกถึงร้อยละ 85 ของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อทั้งหมด สาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคปอดเรื้อรังเป็นผลมาจาก 4 พฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ การสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ และ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน (กรมควบคุมโรค, 2558) จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินงานการป้องป้องกันควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงภายใต้ยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย เป้าหมายเน้นหนักในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ครอบคลุมประชากรทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2557 พบว่าอัตราการคัดกรองเบาหวาน ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 86.79 ผลการคัดกรองแยกเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 89.91กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 7.33 และกลุ่มสงสัยรายใหม่ร้อยละ 2.76 ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 39.79 ตามปัญหาสุขภาพในพื้นที่ร่วมกับใช้หลัก 3 อ. 2 ส. หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ30.82 และการคัดกรองความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปร้อยละ 76.88 จากข้อมูลสถานะสุขภาพอำเภอห้วยเม็ก ในปี 2559 มีการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พบว่า มีการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ครอบคลุมร้อยละ 98.78 พบผู้มีภาวะเสี่ยง ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 11.43 และเบาหวานร้อยละ 7.56 จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นโรงพยาบาลห้วยเม็กได้ตระหนักถึงความสำคัญและสนใจที่จะศึกษาในเรื่อง ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรค เบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12 และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพของประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลห้วยเม็กต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.ศึกษาความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรค เบาหวาน 2.ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรค เบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t - test และ F - test  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 7, 12 และ 14 ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้มาโดยการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามความรู้การดูแลสุขภาพในโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน(K-R 20 = 0.78 (2) และแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน (a = 0.81) เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน เมษายน 2559  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามความรู้การดูแลสุขภาพในโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้การดูแลสุขภาพและแบบวัดพฤติกรรมสุขภาพในโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด จานวน 255 คน และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t - test และ F – test การหาความเชื่อมั่น ( Reliability) ของเครื่องมือ โดยนำแบบสอบถามไปทดสอบ (Try out) กับกลุ่มตัวอย่างประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่ ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จานวน 30 คน โดยหาความเชื่อมั่น (Reliability) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความชัดเจนในประเด็นคาถามของแบบสอบถาม  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51 ปี มากกว่าครึ่ง มีอายุระหว่าง 35-45 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว ระดับการศึกษามากกว่าครึ่ง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีอาชีพ ทำไร่/ทำนา/ทำสวน มากกว่าครึ่งมีรายได้ ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกลุ่มตัวอย่าง มากกว่าครึ่ง ไม่มีปัจจัยเสี่ยงและไม่มีโรคประจำตัว แหล่งรับรู้ความรู้ด้านสุขภาพ มากกว่าครึ่งได้รับความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากอาสาสมัครสาธารณสุข ( อสม. ) และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วย มากกว่าครึ่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล และส่วนใหญ่ไม่ใช้ภูมิปัญญาในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สรุประดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานพบว่า พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.18 ) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง พบว่า อยู่ในระดับ ไม่ดี (ค่าเฉลี่ย 1.97 ) โดยพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยเพศ อายุ สถานภาพสมรส ปัจจัยเสี่ยง (ดัชนีมวลกาย ) แหล่งข่าวสารด้านสุขภาพ การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วยและการใช้ภูมิปัญญาในการส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  
ข้อเสนอแนะ : ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้ประชาชนมีความตระหนักใน เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งด้านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการจัดการความเครียดที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังตามมาในอนาคต 2. หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ควรสร้างความตระหนักให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรครวมทั้งส่งเสริมการจัดการความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)