ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อนุชา คำไสว ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน จังหวัดกาฬสินธุ์พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตั้งแต่ปี 2554-2556 เท่ากับ 11,938 13,505 และ 14,372 คิดเป็น 1215.54 1373.34 และ459.47 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนผู้ป่วยในปี พ.ศ.2555-2557 จำนวน 779 817 และ880 คน เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ตำบลสงเปลือย เป็นตำบลที่จำนวนผู้ป่วยเบาหวานมากถึง 324 คน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่จากการสำรวจข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวานของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอนามน ในปี 2558 พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่ออกกำลังกาย ไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร ไม่สนใจที่จะควบคุมน้ำหนักตัว ขาดความรู้ความเข้าใจ และมีวิธีการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่ายาที่แพทย์จ่ายให้ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ โดยไม่ต้องใช้การปฏิบัติตัวอย่างอื่น ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขต รพ.สต.ตำบลบ้านหัวงัว ทั้งหมดจำนวน 133 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ คัดเข้า คุณสมบัติที่กำหนดไว้ดังนี้ 1. ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่น้อยกว่า 1 ปี 2. เป็นผู้ป่วยที่ไม่มาสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง 3. สมัครใจ และสามารถมาพบผู้วิจัยตามกำหนดได้ทุกครั้งเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานจนสิ้นสุดการวิจัยโดยมีข้อตกลงว่า กลุ่ม ตัวอย่างต้องมาเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 4. เป็นผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง โรคไตวายเรื้อรัง 5. มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ การมองเห็น การได้ยินปกติ สามารถอ่าน เขียน และสื่อสาร เข้าใจภาษาไทยได้ดี  
เครื่องมือ : แบบทดสอบความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน (pre-post test) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน (pre-post test) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ทฤษฎีส่งเริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้จากแนวคิดของเพนเดอร์ (Pender, Murdaugh & Persons, 2006) โดยมีลักษณะเป็นกิจกรรมกลุ่ม (เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เรื่องการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การกินยา การพบแพทย์ตามนัดและการผ่อนคลายความเครียด)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน - การรับประทานอาหารที่เหมาะสม - เบาหวานกับการออกกำลังกาย - การกินยา - การพบแพทย์ตามนัด - การการจัดการความเครียด พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน - การรับประทานอาหารที่เหมาะสม - เบาหวานกับการออกกำลังกาย การกินยา การพบแพทย์ตามนัด - การจัดการความเครียด  
     
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 52.73 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสมีคู่ จำนวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.00 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด จำนวน 35 คนคิดเป็นร้อยละ 35.33 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ป่วยพบว่าค่าเฉลี่ยรายได้ต่อเดือน 6771.76 บาท (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.83 บาท) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ด้านความรู้พบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ( = 18.70) มากกว่าก่อนการทดลอง ( =11.67) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ป่วยเบาหวานพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการทดลองมีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 ,95 % CI- 7.62 ,- 6.22)ด้านพฤติกรรมพบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ( =66.78) มากกว่าก่อนการทดลอง ( = 50.20) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมหลังการทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 ,95 % CI 15.08,18.08)  
ข้อเสนอแนะ : สรุป จากการศึกษาพบว่าความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างชัดเจน ผ่านการให้ความรู้ การสาธิตการปฏิบัติ และสุขศึกษารายกลุ่ม รายบุคคลโดยการเยี่ยมบ้านเพื่อกระตุ้นเตือนโดยผู้วิจัย มีเพียงพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และจะนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพนี้เป็นเป็นรูปแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ในทุกตำบลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีสุขภาพที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป ข้อเสนอแนะ 1) การศึกษาครั้งนี้ไม่มีการวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยทำให้ไม่มีผลยืนยันถึงความเปลี่ยนแปลง ครั้งต่อไปควรวัดค่า HA1Cหรือ FBS 2) การวมผู้ป่วยจำนวนมากให้เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งเป็นเรื่องที่ยาก จึงควรแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเพื่อทำการศึกษา 3) โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานนี้ เหมาะสำหรับใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งใช้ได้ในทุกพื้นที่ซึ่งจะสงผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยเบาหวาน และควรเพิ่มเติมรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมเข้ากับกิจวัตรประจำวัน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)