ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ใกล้บ้านสมานใจ ทีมสุขภาพกมลาไสย ห่วงใยใส่ใจผู้มีปัญหาการดื่มสุรา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๖๐
ผู้แต่ง : นางวิรัลพัชร ศรีสุมาตย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา(ศวส.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศ ไทย พบว่า ในปี ๒๕๕๔ในช่วง๑๐ปีที่ผ่านมานักดื่มเพศหญิงและวัยรุ่นมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ๑ต่อปี ในขณะที่เพศชายโดยเฉพาะในวัยทำงานและวัยสูงอายุ มีอัตราการดื่มที่ลดลงจากเดิม ขณะที่กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำที่สุด กลับพบว่ามีค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยจ่ายค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ ๖.๗ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดและจากข้อมูลจากกรมสรรพสามิตชี้ว่า ปริมาณการนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจากประมาณ๒๔ล้านลิตรในปี๒๕๔๒เป็นประมาณ ๔๒ล้านลิตรในปี ๒๕๕๔จากการสำรวจผลกระทบทางสังคมแสดงให้เห็นว่า ประชาชนพบเห็นปัญหาจากการดื่มเป็นเรื่องปกติ โดย ๓ใน ๔เคยเห็นการทะเลาะกันจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ๑ใน ๓เคยพบเห็นการทำร้ายร่างกายในครอบครัวจากการดื่ม นอกจากนี้สุราเป็นสาเหตุการตาย๑ใน ๓ของคดีอุบัติเหตุทั้งหมด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล(กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๖) นอกจากนี้ผลการสำรวจของคณะกรรมการติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation)เขตสุขภาพที่ ๗(ร้อยแก่นสารสินธุ์) พบว่า พฤติกรรมของประชาชนวัยทำงาน ดื่มสุราร้อยละ ๒๒.๗สูบบุหรี่ร้อยละ ๑๗.๒สถิติโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคไร้เชื้ออื่นๆ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖มีแนวโน้มสูงขึ้น นโยบายระดับเขตเน้นการพัฒนาเชิงบูรณาการผ่านกระบวนการ DHS เพื่อขยายการดำเนินงานตามมาตรการในสถานบริการร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น และสร้างกระแสเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่องและประเมินผลอย่างเป็นระบบแต่อิทธิพลของสื่อโฆษณาและพฤติกรรมการดื่มของนักดื่มหน้าใหม่ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะบริเวณโดยรอบสถานศึกษา ปี ๒๕๕๙ โรงพยาบาลกมลาไสย มีจำนวนผู้ป่วยสุราที่สมัครใจเข้ารับการบำบัด จำนวน ๒๙ คน ชาย ๒๗ คน หญิง ๒ คน สามารถเลิกได้ และไม่กลับมาดื่มซ้ำ จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๑๔อยู่ระหว่างการบำบัด ๑๐ คน และ ๑๒ คนไม่มารับการบำบัด อีกเลย คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๓๘ สาเหตุที่ไม่เข้ารับการบำบัดเนื่องจากว่า ต้องเดินทางไปประกอบอาชีพต่างจังหวัดและต้องออกทำงานเพื่อหารายได้ คลินิกบำบัดสุรา โรงพยาบาลกมลาไสย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการดื่มสุราที่มีผลต่อสุขภาพจิตวัยรุ่นและวัยทำงานที่เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศ จึงได้ดำเนินโครงการ “ใกล้บ้านสมานใจ ทีมสุขภาพกมลาไสย ห่วงใยใส่ใจผู้มีปัญหาการดื่มสุรา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ”  
วัตถุประสงค์ : ๑.บุคลากรใน โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ มีศักยภาพ องค์ความรู้ และทักษะในการดูแลผู้ดื่มสุราในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้ ๒.เกิดระบบการดำเนินงาน การส่งต่อเชื่อมโยงภายในเครือข่ายระดับอำเภอ มีข้อมูลผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุราและเข้ารับการบำบัดในพื้นที่ของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๓.มีแผนการดำเนินงานร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องอื่นๆในระดับอำเภอ ๔.จำนวนผู้ติดสุราในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการฯได้มากขึ้น ๕.เกิดเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาคสาธารณสุขและองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ที่มีปัญหาการดื่มสุรา อำเภอกมลาไสย ที่ยั่งยืน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ดื่มสุรา  
เครื่องมือ : แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยดื่มสุรา  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ระยะที่1 ก่อนดำเนินการศึกษาบริบทของผู้ป่วย ระยะที่2 วางแผนดูแลผู้ป่วย ระยะที่3 ดำเนินการ ระยะที่ 4 ประเมินผล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง