ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : แนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในห้องฉุกเฉิน
ผู้แต่ง : ปี : 2561
     
หลักการและเหตุผล : ปี 2557-2560 (ต.ค.59-มิ.ย.60) มีผู้ป่วยหลอดเลือดสมองรายใหม่จำนวน 75, 84, 78 และ 41 รายตามลำดับ โดยผู้ป่วยได้รับการคัดกรองเข้า Stroke Fast Track คิดเป็นร้อยละ 100 ในผู้ป่วยที่ไม่เข้า criteria ของ Stroke Fast Track จะรับ admit และให้การดูแลตามแนวทางของโรงพยาบาล โดยพบว่าแนวโน้มการดูแลผู้ป่วย stroke ตั้งแต่ปี 2557-2559 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ในช่วง ต.ค.59 – มิ.ย.60 มีแนวโน้มที่แย่ลง ซึ่งจากการทบทวนพบปัญหาในการดูแลผู้ป่วย Stroke ได้แก่ การที่ผู้ป่วยเข้าถึงบริการล่าช้ามากกว่า 3.5 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของความเร่งรีบในการเข้ามารับบริการ การที่ร้อยละผู้ป่วย Door to refer time มากกว่า 30 นาที (แต่ไม่เกิน 35 นาที) เนื่องจากเป็นผู้ป่วยหนักที่ต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ 3 ราย มีการรอผล lab 2 ราย มีการ triage ผิดพลาด 1 ราย และมีปัญหาในเรื่องการเก็บบันทึกข้อมูลที่ไม่ได้เป็นไปในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน จึงอาจทำใหมีข้อมูลทางด้านเวลาที่คลาดเคลื่อนได้ ส่วนร้อยละผู้ป่วย stroke fast track ที่ได้รับ rt-PA ที่ลดลง เนื่องมาจากการที่แพทย์ไม่ได้มีการประเมิน NIHSS ก่อนการ refer จึงทำให้มีการส่งต่อผู้ป่วยที่ไม่เข้าเกณฑ์การได้รับ rt-PA มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบปัญหาในเรื่องการได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เนื่องจากอาการนำของผู้ป่วยไม่ชัดเจน การเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างนอนโรงพยาบาล และการดูแลต่อเนื่องที่ยังไม่ได้มีการบูรณาการร่วมกับทีมสหวิชาชีพ  
วัตถุประสงค์ : เพื่อ ศึกษาสถานการณ์หลอดเลือดสมอง นำมาปรับปรุงระบบงานการดูแล  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่รพ.กมลาไสย  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วย เวชระเบียน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ระยะที่1 ก่อนดำเนินการ ระยะที่ 2 วางแผนดำเนิการ ระยะที่ 3 ดำเนินการ ระยะที่ 4 ประเมินผล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง